Page 10 - E-MAGAZINE_VOL_19
P. 10
I - Trip | กองบรรณาธิการ
ตามรอยพระบาท
ประพาสต้นบนดอย...อ่างขาง
ดอยอ่างขาง ในเขตอ�าเภอฝาง จังหวังเชียงใหม่แห่งนี้ นับได้ว่ามีทุกสิ่งทุกอย่างให้ท่องเที่ยวบนภูเขาสูงภาคเหนือไม่ว่าจะ
เป็นจุดชมวิวสวยๆ ทะเลหมอกแน่นขนัด พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก ดอกไม้ พรรณไม้สวยๆ โดยเฉพาะดอกซากุระหรือ
พญาเสือโคร่ง เมเปิลผลัดใบ กล้วยไม้ป่า ดอกบ๊วย ดอกท้อ ตลอดจนมีชนชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ ที่มีเครื่องแต่งกายสวยงามเป็นสีสัน
อันงดงามของการท่องเที่ยวภูเขาในหน้าหนาว แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งที่แหล่งท่องเที่ยวที่อื่นๆ ไม่มีก็คือประวิติความเป็นมาอันยิ่งใหญ่ที่
เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระองค์ทรงมีความห่วงใยต่อปวงพสกนิกรทั้งหลาย ทั้งชาวไทยภูเขาบน
ดอยที่มีความเป็นอยู่ยากแค้น ต้องเผาป่า ตัดไม้ท�าลายป่า ท�าไร่เลื่อนลอยและปลูกฝิ่นเป็นเหตุให้ต้องมีความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ทาง
ราชการ ตลอดจนทรงห่วงใยประชาชนไทยพื้นล่างที่ต้องรับผลของการตัดไม้ท�าลายป่าข้างบน เกิดสภาพดินถล่ม น�้าป่าไหลหลาก น�้า
ท่วมใหญ่ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงใช้พื้นที่ดอยอ่างขางเป็นพื้นที่ส�าหรับการศึกษาทดลองและปฏิบัติการปลูกพืชไร่และผัก
ผลไม้เมืองหนาวทดแทนฝิ่น ที่ต่อมาผลการปฏิบัติพระราชภารกิจนั้นได้พัฒนาก้าวหน้าแปรเปลี่ยนไปจนก่อก�าเนิดขึ้นเป็น “โครงการหลวง”
ที่ใครๆ ก็รู้จัก
ขึ้นดอยอ่างขาง ชมธรรมชาติงาม ต้นฤดูหนาว
จุดเริ่มต้นของ “โครงการหลวง” เกิดขึ้นเพราะ “ท่านไปเที่ยว”
จากกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ต่อผู้เข้าเฝ้าฯ ณ พระต�าหนักจิตรลดารโหฐาน ค�าว่า “ไปเที่ยว” นี้
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง ทรง
อธิบายไว้ว่าหมายถึงการประพาสต้น จึงกล่าวได้ว่าโครงการหลวงนี้
เกิดขึ้นจาก “การเสด็จประพาสต้นบนดอย” นั่นเอง
ในระยะแรกพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งชื่อโครงการว่า “พระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา”
ในปี พ.ศ. 2512 โดยมีพระราชประสงค์ให้เป็นโครงการส่วนพระองค์
เพื่อท�าการวิจัยและพัฒนาพืชและผลไม้เมืองหนาว ตลอดจนการฝึกอบรม
การเกษตรและพัฒนาอาชีพให้แก่ชาวไทยภูเขาให้ลดการปลูกฝิ่นและ
การตัดไม้ท�าลายป่า ปัจจุบันได้ใช้ชื่อว่า “มูลนิธิโครงการหลวง” โดย
จดทะเบียน เมื่อ พ.ศ. 2535 มี หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงเป็นประธาน
มูลนิธิโครงการหลวงด�าเนินงานทั้ง 39 แห่ง
7 | I-TEL