Page 15 - E-MAGAZINE_VOL_22
P. 15

โดยปกติแล้วร่างกายคนเรามีอุณหภูมิ ประมาณ 36 - 37 องศาเซลเซียส ถ้าอากาศร้อนมากจนร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ไม่ถึง 40
          องศาเซลเซียส อาจเกิดอาการเพลียแดดได้และถ้าสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส ร่วมกับเริ่มมีอาการทางสมอง เช่น ซึม สับสน ชักเกร็งหรือหมดสติ
          เรียกว่าโรคลมแดด

          อาการ
                 อาการที่บ่งบอกว่าเป็นอาการเพลียแดดได้แก่ ปวดศีรษะ
          คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลียไม่มีแรง มีตะคริวและมีไข้ แต่ต�่ากว่า 40
          องศาเซลเซียส อาการเพลียแดด เป็นสัญญาณเตือนว่าต้องรีบแก้ไข
          ก่อนที่จะเกิดลมแดดซึ่งมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ อาการลมแดดมีความ
          รุนแรงกว่าเพลียแดด และต้องได้รับการแก้ไขอย่างฉุกเฉิน ผู้ป่วยจะมี
          อาการเหมือนเพลียแดด แต่มีตัวแดง ร้อนจัด ผิวแห้งไม่มีเหงื่อ หอบ
          หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว มีอาการทางสมองเช่น เห็นภาพหลอน สับสน
          หงุดหงิด ชักหรือหมดสติ ภาวะนี้สามารถท�าให้เกิดตับและไตวาย
          กล้ามเนื้อสลายตัว หัวใจเต้นผิดจังหวะ น�้าท่วมปอด เกิดลิ่มเลือดอุดตัน
          ในกระแสเลือดและช็อกได้
                                                              การดูแลแก้ไข
                                                                     หากพบผู้ที่น่าสงสัยว่ามีภาวะลมแดดต้องรีบน�าส่ง
                                                              โรงพยาบาล โดยในระหว่างนั้นควรดูแลผู้ป่วยดังนี้
                                                              1. รีบน�าผู้ป่วยออกจากบริเวณที่อากาศร้อน น�าเข้าที่ร่มหรือห้องแอร์
                                                              ถ้าไม่มีแอร์ ให้เปิดพัดลมและหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท
                                                              2. ถ้าผู้ป่วยยังไม่หมดสติ ให้ผู้ป่วยดื่มน�้าเย็น แต่ไม่ต้องให้ยาลดไข้
                                                              แอสไพรินหรือพาราเซตตามอล
                                                              3. พ่นละอองน�้าบนตัวผู้ป่วยและใช้พัดหรือพัดลมเป่า อาจใช้ผ้าชุบ
                                                              น�้าเย็นเช็ดตัวผู้ป่วย
                                                              4. ถ้าผู้ป่วยชักเกร็ง ให้เอาสิ่งกีดขวางรอบตัวผู้ป่วยที่อาจท�าให้ผู้ป่วย
                                                              เกิดอันตรายได้ออก
                                                              5. ถ้าผู้ป่วยหมดสติและอาเจียน ให้จับศีรษะผู้ป่วยหันไปด้านข้าง เพื่อ
                                                              ลดโอกาสการส�าลัก


          การป้องกัน
          1. หลีกเลี่ยงการออกก�าลังอย่างหนักติดต่อกันเป็นเวลานานในช่วงที่อากาศร้อนจัด ถ้าจะออกก�าลังกลางแจ้งเลือกท�าในช่วงเช้าหรือเย็น
          2. ในช่วงที่อากาศร้อน สวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่ง ไม่หนา ระบายอากาศดี สีอ่อน  สวมหมวกหรือถือร่มกันแดดใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงกว่า 15
          3. ดื่มน�้าให้เพียงพอหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟก่อนออกก�าลังกาย
          4. ถ้าเป็นนักท่องเที่ยวที่ไม่คุ้นเคยกับอากาศร้อนอย่าเพิ่งออกก�าลังกายหักโหมในที่ร้อน เมื่อไปประเทศเมืองร้อน ให้ร่างกายมีการปรับตัวอย่างน้อย
             1-2 สัปดาห์
          5. ผู้ที่มีโรคหรือรับประทานยาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ สมควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ร้อนจัดเป็นเวลานาน
          6. ผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยหรือเด็กเล็ก ควรระมัดระวังเรื่องอุณหภูมิอากาศ ไม่ให้ร้อนอบอ้าวและควรให้ได้รับน�้าอย่างเพียงพอ


          ที่มา : รศ.นพ.วีรศักดิ์  เมืองไพศาล ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
                                                                                                     I-TEL |  12
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20