Page 7 - E-MAGAZINE_VOL_16
P. 7
สืบเนื่องมาจากความต้องการที่รวดเร็ว เทคโนโลยีจึงเข้ามามีบทบาทส�าคัญในการ
เทรดแบบ HFT ซึ่งมักจะประกอบด้วย
1. Colocation การติดตั้งระบบประมวลผลไว้ในพื้นที่ที่ใกล้กับแหล่งข้อมูลมากที่สุด
เพื่อลดเวลาในการส่งข้อมูลและท�ารายการ ให้น้อยที่สุดอีกทั้งการส่งข้อมูลจะได้สามารถไปอยู่
ในอันดับต้นๆ รอการด�าเนินการหรือซื้อขายต่อไป
2. Ultra - Low Latency connectivity การส่งค�าสั่งซื้อขายที่รวดเร็วไปยังตลาด
หลักทรัพย์โดยหลีกเลี่ยงการส่งข้อมูลไปยังบริษัทหลักทรัพย์และรอค�าสั่งไปที่ตลาดหลักทรัพย์
อีกที่หนึ่ง ซึ่งก็คือการเชื่อมต่อแบบตรงท�าให้มีระยะทางที่สั้นและรวดเร็วมากกว่าท�าให้สามารถ
ส่งค�าสั่งได้เป็น Millisecond หรือ Microsecond ซึ่งการเชื่อมต่อตรงไปยังตลาดหลักทรัพย์
นั้นจะต้องได้รับการอนุมัติจากตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น
3. High Speed Data Analytical system ระบบประมวลผลข้อมูลที่ต้องมี
ประสิทธิภาพสูงและมีขั้นตอนการประมวลผลที่สั้นกว่า ซึ่งจะมีการตั้งค�าสั่งและสูตรการค�านวณ
ต่างๆ เอาไว้ก่อนล่วงหน้าท�าให้เมื่อมีลักษณะของข้อมูลที่เกี่ยวข้องเข้ามาระบบจะดิ่งเอามา
ประมวลผลและออกเป็นค�าสั่งด�าเนินการได้อย่างรวดเร็ว
4. Market Data การเชื่อมต่อไปยังแหล่งข้อมูลและความสามารถในการรองรับข้อมูล
และประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งท�าให้สามารถดึงเอาข้อมูลมาประมวลผลได้อย่างมี
ประสิทธิภาพและรวดเร็ว
สิ่งที่ต้องค�านึงถึงเพื่อรองรับ HFT ในประเทศไทย
โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี
• ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะต้องจัดเตรียมหรือจัดหาระบบโครงสร้างพื้นฐาน
ทางเทคโนโลยีที่เหมาะสม ซึ่งสามารถรองรับการส่งข้อมูลระดับ Milliseconds หรือ Microseconds
และมีค่าความหน่วงที่ต�่าหรือที่เรียกว่า Low Latency Infrastructure อีกยั้งต้องมีเสถียรภาพ
ที่สูงเพราะจ�าเป็นต้องใช้ในการท�าค�าสั่งแต่ละค�าสั่งให้ส�าเร็จ อีกทั้งยังควรจะต้องปรับปรุงระบบ
ฮาร์ดแวร์ให้สามารถรองรับปริมาณข้อมูลและความเร็วอันมหาศาลให้ได้อีกด้วย
• พื้นที่จัดวางอุปกรณ์ส�าหรับผู้ที่จะด�าเนินการ HFT ที่อยู่ในพื้นที่ที่จัดไว้ส�าหรับระบบ
ดังกล่าวโดยเฉพาะ จะต้องเป็นพื้นที่ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อรองรับ Low Latency Access
และสามารถเชื่อมต่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ส่งมายังตลาดได้โดยตรง (Direct Access)
• ระบบบริหารความเสี่ยงและระบบการก�ากับดูแลการซื้อขายที่เหมาะสมจะต้องถูก
พัฒนาขึ้นมารองรับเนื่องจากการอาศัยช่องโหว่ทางเทคโนโลยีและข้อปฏิบัติ จะเป็นจุดที่ท�าให้
เกิดการเก็งก�าไรแบบไม่เป็นธรรม (Manipulate) ได้ เช่นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่อเมริกาในวันที่
6 พฤษภาคม 2553 ที่อาศัยช่องโหว่ให้เกิดการขายแบบ Panic Sell และระบบต่างๆ ก็ขายออก
มาอย่างมากมายจนท�าให้ดัชนีร่วงไปเป็นระยะเวลาสั้นๆ คงต้องจับตาดูกันต่อไปว่าเทคโนโลยี
ที่พัฒนาไปมากแล้วในบ้านเราจะท�าให้มีการเทรดแบบ HFT เมื่อไหร่กันแน่ แต่แน่นอนว่า
ไม่ไกลเกินรอครับ
I-TEL | 4