Page 6 - E-MAGAZINE_VOL_6
P. 6
I - Trend | คุณณัฐนัย อนันตรัมพร
ซิงเกิล เกตเวย์ (Single Gateway)
ถึงแม้รัฐบาลจะออกมาประกาศว่าแนวคิดการจัดตั้งซิงเกิล เกตเวย์ (Single Gateway)
นั้นเป็นเพียงแค่ความคิดและอยู่ระหว่างศึกษาโดยอาจจะไม่ได้มีการด�าเนินการใดๆ
แต่เพื่อความเข้าใจเราจึงหยิบเอาเรื่องนี้มาท�าความรู้จักกันให้กระจ่างในเดือนธันวาคมนี้
อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันถือว่ามีความส�าคัญกับการด�ารงชีวิตของเราเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นด้านการประกอบกิจการ การใช้ชีวิต
ประจ�าวันหรือแม้กระทั่งเพื่อความบันเทิง โดยอินเทอร์เน็ตนั้นจะใช้งานได้ต้องมีการเชื่อมต่อจากประเทศนั้นๆ ไปยังจุดปลายทางหลักที่มุ่งหมาย
ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยจะมีการเชื่อมต่อส�าคัญๆไปยัง สิงค์โปร์ และฮ่องกง เพราะมีช่องทางการเชื่อมต่อไปที่อื่นๆ ในโลกได้อย่างหลากหลาย
ค�าว่า ซิงเกิล เกตเวย์ (Single Gateway) นั้นประกอบไปด้วยค�า 2 ค�าซึ่งหากแยกออกมาตีความแล้วจะท�าให้เข้าใจความหมายได้เป็นอย่างดี
ค�าว่า เกตเวย์ (Gateway) นั้นหมายถึงประตูหรือช่องทางการเชื่อมต่อที่จะก่อให้เกิดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตหรือเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ คือประตูที่จะ
ออกจากประเทศไทยไปยังปลายทางต่างๆ ในโลกนี้นั่นเอง โดยปัจจุบันประเทศไทยมีการออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภท
ดังกล่าว ภายใต้เงื่อนไขการให้บริการของ กสทช. ซึ่งมีทั้งราชการและเอกชนเกี่ยวข้องในส่วนนี้ค�าว่าซิงเกิล (Single) หรือหนึ่งเดียวซึ่งหากเอา
มารวมกันเป็นซิงเกิล เกตเวย์ (Single Gateway) ก็หมายถึงมีประตูที่จะเชื่อมต่อไปยังปลายทางต่างๆเพียงแค่ประตูเดียวนั่นเอง
ซึ่งในก่อนหน้านี้ประเทศไทยเคยใช้ซิงเกิล เกตเวย์มาก่อน ในช่วงที่อินเทอร์เน็ตยังไม่แพร่หลาย โดย บริษัท กสท โทรคมนาคม จ�ากัด (มหาชน)
ท�าหน้าที่เป็นเกตเวย์ของประเทศรายเดียว และสหรัฐอเมริกาเองก็เคยใช้ซิงเกิล เกตเวย์มาก่อนแต่ได้เลิกใช้ไปแล้วแต่ด้วยเวลาต่อมาเมื่อ
อินเทอร์เน็ตมีความแพร่หลายมากขึ้น ก็ท�าให้เกิดเกตเวย์ใหม่ขึ้นมาเป็นจ�านวนมาก
โดยในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ใช้ซิงเกิล เกตเวย์ เช่น ลาว จีน เกาหลี เหนือ หรือประเทศในแถบตะวันออกกลาง ซึ่งประเทศเหล่านี้
ก็ได้มีการปิดกั้นเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นบางอย่าง ให้ประชาชนไม่สามารถที่จะใช้งานได้ เช่น เฟซบุ๊ก กูเกิล หรือ ไลน์ เป็นต้น โดยการด�าเนินการ
ดังกล่าวมีทั้งข้อดีและข้อเสียจึงขอสรุปเป็นรายละเอียดดังนี้
3 | I-TEL